|
|
เรื่องควรรู้ ในการสร้างห้องดูหนังในบ้าน |
|
การเลือกพื้นที่สร้าง |
|
ต้องเป็นพื้นที่ ที่มีเงื่อนไขในการควบคุมเสียงที่จะไม่ให้เสียงออกไปรบกวนพื้นที่อื่นในบ้านเดียวกันและขณะเดียวกันต้องเป็นพื้นที่ ที่ต้องควบคุมแสง เพื่อการดูหนังจะไม่มีแสงจากภายนอกเข้ามารบกวนภายใน ห้องดูหนัง ในขณะใช้งาน เพราะเป็นการทำลายอรรถรสในการดูหนังเอย่างมาก |
|
|
|
|
ขนาด ห้องดูหนัง มักจะถูกกำหนดร่วมกับขนาด จอภาพ และระบบเสียงที่จะใช้เป็นหลัก ปกติการกำหนดทิศทางในการดูหนังจะกำหนดให้ใช้ตามความยาวของห้อง(ไม่เล่นตามขวางห้อง)โดยรูปห้องจะเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าจะสามารถให้การตอบสนองทางเสียงได้ดี
ความกว้างของห้องควรจะมีขนาดมากกว่า 1.5 เท่าของขนาดจอภาพเพื่อให้มีพื้นที่ด้านข้างของจอภาพมีระยะเพียงพอที่จะติดตั้งลำโพงและพอที่จะ set-up ลำโพงได้
ความยาวของห้องจะต้องมีขนาดมากกว่า 2.5 เท่าของขนาดจอภาพเพื่อการจัดต่ำแหนง นั่งไม่ชิดหน้าจอเกินไป และสามารถกำหนดมุมเงยที่เหมาะสม (+3องศา) มีระยะห่างที่พอจะแยกแยะเสียง,บรรยากาศที่เกิดจากลำโพงในต่ำแหนงต่างๆ เพื่อให้ได้อารมณ์ร่วมที่สมจริงมากที่สุด | |
| |
|
|
ข้อแนะนำ |
|
- |
ควรเลียงการเลือกห้องที่จะทำ ห้องดูหนัง ทีมีรูปร่างเป็นสีเหลียมจัตุรัส เพราะจะมีอัตราการก้องสะท้อนเสียงมากกว่าห้องแบบสี่เหลียมผืนผ้า
อย่างน้อย 2 เท่า |
- |
ไม่ควรใช้บานประตู,บานหน้าต่างชนิดกระจก บานเลือน เพราะกระจกมีค่าการดูดซับเสียงเป็นศูนย์และไม่สามารถติดตั้งวัสดุควบคุมเสียงบนบานกระจกได้และยังมีอาการสั่นสร้างเสียงรบกวนในขณะที่ชุดเครื่องเสียงกำลังทำงานที่ความถี่ต่ำจะก่อให้เกิดเสียงรบกวนที่แก้ไขได้ยาก |
- |
ข้อแนะนำ ควรเลือกห้องที่จะสร้าง ห้องดูหนัง ที่มีโครงสร้างที่มีความแข็งแรงสูงเพื่อที่จะรองรับรงประทะของเสียงที่มีพลังงานสูงมากๆได้โดยไม่
สั่นค้าง | |
| | |
|
|
|
ระบบภาพและเสียงของ ห้องดูหนัง ในบ้าน |
|
ระบบภาพ |
|
การเลือกจอภาพขึ้นกับขนาดห้องเป็นหลัก ห้องที่มีขนาดเล็กสามารถใช้จอภาพ ชนิด LED,LCD TV ที่การดิตตั้งง่าย การปรับภาพไม่ยุ่งยากและไม่จำเป็นต้องควบคุมสภาพแสงภายในห้อง จัดว่าเป็นจอภาพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ไม่มีขนาดจอที่ใหญ่มากๆสำหรับบางห้องได้ ถ้าเป็นห้องที่มีขนาดใหญ่ควรเลือกใช้ระบบภาพแบบ Projector+จอภาพ คือแยกระหว่างเครื่องฉายภาพกับจอภาพออกจากกัน ระบบนี้สามารถใช้กับจอภาพที่มีขนาดใหญ่มากๆได้เพื่อให้เกิดความสมส่วนระหว่างภาพกับเสียง ที่สมจริงมากขึ้นและยังสามารถเลือกชนิดเนื้อจอภาพที่มีประสิทธิภาพสูงได้สมกับความต้องการของผู้ใช้ให้ได้ลักษณะที่เรียกว่าภาพใหญ่ เสียงเต็มอย่างไม่จำกัดขนาด แต่การติดตั้งระบบภาพนี้จำเป็นต้องใช้ผู้เชียวชาญเฉพาะ และจำเป็นต้องควบคุมแสงภายใน
ห้องดูหนัง ให้ได้ |
|
ระบบภาพ |
|
ควรเลือกเครื่องประมวลผลทางเสียง ที่มีเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยที่สุด อาจจะใช้เป็นแบบรวมชิ้น (receiver) ที่จะทำหน้าที่เป็นตัวประมวลผล,ปรีแอมป์และเพาว์เวอร์แอมป์ในเครื่องเดียวกันซึ่เป็นเครื่องที่มีความสะดวกในการใช้งานเป็นอย่างมากหรือจะใช้ระบบแยกชิ้น(Pre Processor) ที่จะแยกระหว่าง เครื่องประมวลผล+ปรีแอมป์ และเพาว์เวอร์แอมป์ออกจากกันก็สามารถที่จะเลือกเพาว์เวอร์แอมป์ที่มีกำลังหรือบุคลิกเสียงตามที่ต้องการได้ แต่ระบบแยกชิ้นจะใช้งบประมาณที่สูงกว่าระบบรวมชิ้นมาก |
| | |
|
|
|
ระบบไฟฟ้าใน ห้องดูหนัง |
|
วงจรไฟฟ้าที่ใช้ในห้องดูหนังแยกออกเป็น 4 วงจรประกอบด้วย ไฟฟ้าสำหรับแสงสว่าง,ไฟเลี้ยงชุดเครื่องเสียง,ไฟเลี้ยงเครื่องปรับอากาศและไฟเลี้ยงเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ สำหรับไฟเลี้ยงเครื่องปรับอากาศและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เป็นเช่นเดียวกับบ้านพักอาศัยทั่วไป ส่วนสำคัญของ ห้องดูหนัง ก็คือไฟแสงสว่างและไฟเลี้ยงชุดเครื่องเสียง |
|
ไฟเลี้ยงแสงสว่าง
การวางวงจรและตำแห่นงดวงโคมจะเรียงจากหน้าห้องไปหลังห้อง(จากจอภาพถึงผู้ฟัง)แบ่งเป็นแถว และควบคุมด้วยสวิทซ์แบบหรี่ไฟได้เพื่อให้ได้แสงสว่างจากหน้าไปหลังหรือหลังไปหน้า และการเลือกชนิดดวงโคมต้องมีความแข็งแรง ทนต่อแรงกระแทกของเสียงที่ดังมากๆได้ โดยที่ตัวโคมไม่สั่นไหว ส่วนชนิดของหลอดไม่ควรใช้หลอดที่มีหมอแปลงไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบ เพราะหมอแปลงไฟฟ้าจะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมารบกวนการทำงานของเครื่องเสียงได้
ไฟเลี้ยงชุดเครื่องเสียง
ถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญกับคุณภาพของเสียงและภาพเป็นอย่างมากจึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษโดย ทำการแยกวงจรไฟฟ้าต่างหากไม่ให้มีการใช้ไฟฟ้าร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ โดยแยกวงจรจากตู้เมนบอร์ด และกำหนดการบริโภคไฟฟ้าให้มากกว่าที่จะใช้จริง 1-1.5 เท่าและใช้สายไฟฟ้าที่มีขนาดหน้าตัดอย่างน้อย 4sq.mm.ทั้ง 3 เส้น (line,neutron,ground) และควรให้ไฟฟ้าผ่านเครื่องคุมแรงดันไฟฟ้า (stabilizer) อีกชั้นหนึ่งก่อนจะปล่อยให้ชุดเครื่องเสียงเพื่อป้องกันไฟกระชาก,ไฟตกไฟเกิน,ป้องกันการเสียหายจากฟ้าผ่าและทำให้ไฟมีความเสถียรขึ้นอีกด้วย |
|
|
|
การจัดสภาพเสียงใน ห้องดูหนัง (acoustic) |
|
ลักษณะเสียงที่นักเล่นเครื่องเสียงต้องการให้เกิดขึ้นคือมีมีความเป็นกลางของเสียงมากที่สุดโดยมีการควบคุมเสียงแบบ กึ่งซับเสียง กึ่งสะท้อนเสียง สามารถทำได้โดยใช้วัสดุควบคุมเสียงชนิดต่างๆเช่นวัสดุซับเสียง(absorber,bass trap), วัสดุกระจายเสียง (diffuser) หรือวัสดุสะท้อนเสียง (reflexter) โดยมีการออกแบบ จัดสรรวัสดุเหล่านี้ทำงานร่วมกันโดยวัสดุแต่ละชนิดติดตั้งในตำแหน่งที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นต้องใช้ผู้เชียวชาญทีมีความเข้าใจในธรรมชาติของวัสดุนั้นๆจะยกตัวอย่างการทำงานของวัสดุแต่ละชนิดพอสังเขปดังนี้ |
|
วัสดุซับเสียง (bass trap,absorber)
เป็นวัสดุที่ออกแบบให้ทำหน้าที่ดูดซับ สลายพลังงานเสียงและยังแบ่งออกเป็น 2ชนิดใหญ่ๆ ตามย่านเสียงที่ทำงานได้ เช่นวัสดุเก็บเสียงที่ความถี่ต่ำ(tri-trap,bass trap) จะมีความสามารถเก็บ ควบคุมเสียงที่ความถี่ต่ำหรือเสียงเบสไม่ให้มีอาการ บวม,คราง,ล้นและจะทำให้เบสมีความคมชัด เป็นเม็ด-คำที่ชัดเจน และไม่บดบังความถี่ย่านกลาง-สูง วัสดุเก็บเสียงย่านกลาง-สูง (absorber)จะใช้เก็บสลายเสียงย่านเสียงกลาง-สูงที่เป็นย่านเสียงที่เป็นต้นเหตุของเสียงก้อง เสียงกำธร ที่เป็นอุปสรรคต่อการฟังเสียงเป็นอย่างมาก และเกิดขึ้นกับทุกห้องดันนั้น absorber จัดว่าเป็นวัสดุหลักในการควบคุมเสียงในทุกห้อง ผลที่ได้ห้องจะมีความเงียบ ความสงัด ลดเสียงก้อง แต่ถ้าใช้ในปริมาณที่มากเกินไปจะเกิดอาการเสียงแห้ง หรือที่เรียกว่าเสียงตายได้
วัสดุกระจายเสียง(diffuser)
เป็นวัสดุที่ถูกออกแบบจำเพาะให้ทำหน้าที่กระจายเสียงโดยสามารถออกแบบให้กระจายเสียงตามย่านความถี่ที่ต้องการได้ (ต้องใช้สูตรคำนวณ) เมื่อติดตั้งที่ขนาดและตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วจะเกิดการกระจายเสียงในลักษณะเป็นวงกว้าง, ลอย ลดเสียงกร้าน, แห้ง เพิ่มความกังวาน, ความสดใส, ประกายเสียง มีการจัดตำแหน่ง ชั้นแถวของเสียงที่บันทึกให้มีความคมชัดได้เป็นอย่างดีแต่หากใช้ในต่ำแหนงที่ไม่ถูกต้องหรือใช้ปริมาณมากเกินไป จะเกิดความฟุ้งจนหามิติเสียงไม่พบจำเป็นต้องให้ผู้เชียวชาญกำหนดต่ำแหนง และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม | |
| |
|